โดยกลุ่มของดิฉันมีสมาชิกดังนี้
1.นางสาวกมลวรรณ ศรีสำราญ
2.นางสาวบุษบา คงศิลา
3.นางสาวดวงกมล สุขสวัสดิ์
สมาชิกในกลุ่มกำลังช่วยกันทำงาน |
ยิ้มแย้มกับการทำงาน |
กลุ่มของดิฉันสรุปข้อมูลทั้งหมดได้ดังนี้
1.ความหมายของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์หมายถึง ความรู้เบื้องต้นที่น่าจะนำไปสู่การเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีประสบการณ์ต่างๆ เช่นการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบโครงสร้าง การเลียงลำดับ การบอกตำแหน่ง การนับจำนวน การวัด เพื่อให้รู้พื้นฐานก่อนที่จะเรียนในขั้นต่อไป
อ้างอิงจาก
- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- วิจิตรา อุปการนัตติเกษตร
2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์คือ
1.ให้เด็กมีความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์
2.พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม
3.ได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัตฺจริงกับอุปกรณ์
4.ได้พัฒนาทักษะการบวนการคิดในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์
5.ได้พัฒนาทักษะในการเชื่อมโยงความคิด และการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
6.ได้พัฒนาทักษะในการคิดคำนวน
7.รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และแสดงความคิดออกมาอย่างมีระบบ ชัดเจน และรัดกุม
อ้างอิงจาก
- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- การสอนคณิตศาสตร์
3.การสอนการจัดการจัดประสบการณ์ ทฤษฏีการสอน
ทฤษฏีการสอนที่นำทาใช้มากที่สุดในการสอนคณิตศาสตร์คือ ทฤษฏีการใช่ประสาทสัมผัส (Sensorly motor) ของเพียเจท์ จะเน้นเรื่องการพัฒนาทางสติปัญญา สร้างขึ้นจากงานวิจัยของเขาที่ได้สังเกตจากบุตรและธิดา จากการสังเกตวิธีแก้ไขปัญหาของเด็ก เขาคิดว่าวิธีการใช้เหตุผลของเด็กน่าสนใจมาก เนื่องจากมีความแตกต่างจากการใช่เหตุผลของผู้ใหญ่
อ้างอิงจาก
- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- การสอนกลุ่มทักษะ 2
4.ขอบข่ายคณิตศาสตร์
ขอบข่ายของคณิตศาตร์มีดังนี้
1.การจัดหมวดหมู่
2.การเรียงลำดับ
3.นิติสัมพันธ์
4.ความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา
5.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
6.การนับจำนวน
7.การเปรียบเทียบ
8.รูปทรงและเนื้อที่
9.การวัด
10.แผนภูมิ
อ้างอิงจาก
- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- ยุพิน พิพิธกุล
5.หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
หลักการจัดประสบการคณิตศาสตร์มีดังนี้
1.ครูผู้สอนจะต้องวางแผนในการจัดกิจกรรม และมีจุดประสงค์ในการจัดกิจกรรมอย่างชัดเจน
2.ครูผู้สอนจะต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ ต้องจัดการสอนให้เหมาะสมกับวัยและระดับความสามารถของเด็ก
3.เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ที่เป็นทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยวโดยให้เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
4.จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับทางกายภาพและสังคมเพื่อให้เด็กเข้าใจอย่างแท้จริงและมีความสุข
5.ครูผู้สอนจะต้องเสริมแรงให้แก่เด็ก ถ้าหากพบข้อบกพร่องของเด็กควรช่วยแก้ไข
6.เด็กควรได้ทราบเป้าหมายของกิจกรรมด้วยทุกครั้งก่อนเรียน
อ้างอิงจาก
- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- ยุพิน พิพิธกุล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น