คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่5 30/11/55

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายขอบเขตของคณิตศาสตร์และยกตัวอย่างขอบเขตคณิตศาสตร์ของ นิตยา ประพฤติกิจ และ เยาวพา เดชะคุปต์ ดังนี้

ขอบเขตคณิตศาสตร์ของนิตยา ประพฤติกิจ
ขอบข่ายคณิตศาสตร์ ของ เยาวพา เดชะคุปต์
สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้
1.ได้รู้จักขอบเขตของวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องตาม
   พัฒนาการ
3.ไดัรู้แนวทางในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้
1.ให้นำกล่องที่มีรูปทรงต่างๆ ขนาดเล็ก มาในสัปดาห์หน้าคนละ1กล่อง
2.ให้จับกลุ่ม 2 คน และช่วยกันคิดแนวทางในการบูรณาการการเรียนการสอนให้เข้ากับขอบข่ายของคณิตศาสตร์ โดยยึดขอบข่ายของนิตยา ประพฤติกิจ เป็นหลัก ส่งในสัปดาห์หน้า

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่4 23/11/55

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์ โดยฝ่ายกิจการนักศึกษาได้จัดงานกีฬาสีนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะสานสัมพันธ์ระหว่างคนในคณะและเพื่อต้านภัยยาเสพติด ในวันนี้ถึงอากาศจะร้อนและแดดแรงบ้าง ฟ้าครึ้มฝนรินบ้าง แต่ทุกๆคนในคณะ ไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเขียว สีชมพู และสีส้มต่างก็ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จนทำให้งานสำเร็จเสร็จสิ้นไปด้วยดี ถึงจะเหนื่อยไปหน่อยแต่ก็สนุกดีค่ะ :)

ภาพบรรยากาศในงานกีฬาสี
ยิ้มๆๆ

สนุกมากค่ะ

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่3 16/11/55

     ในการครั้งนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มล่ะ 3 คน และให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากสิ่งที่ให้ค้นคว้ามาและช่วยกันสรุปสิ่งที่ได้ค้นคว้ามา โดยให้รวมข้อมูลของแต่ล่ะคนให้เป็นหนึ่งเดียว

โดยกลุ่มของดิฉันมีสมาชิกดังนี้
     1.นางสาวกมลวรรณ   ศรีสำราญ
     2.นางสาวบุษบา   คงศิลา
     3.นางสาวดวงกมล   สุขสวัสดิ์

สมาชิกในกลุ่มกำลังช่วยกันทำงาน
ยิ้มแย้มกับการทำงาน

กลุ่มของดิฉันสรุปข้อมูลทั้งหมดได้ดังนี้

1.ความหมายของคณิตศาสตร์

     คณิตศาสตร์หมายถึง ความรู้เบื้องต้นที่น่าจะนำไปสู่การเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีประสบการณ์ต่างๆ เช่นการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบโครงสร้าง การเลียงลำดับ การบอกตำแหน่ง การนับจำนวน การวัด เพื่อให้รู้พื้นฐานก่อนที่จะเรียนในขั้นต่อไป

อ้างอิงจาก 
- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- วิจิตรา อุปการนัตติเกษตร

2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์คือ
1.ให้เด็กมีความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์
2.พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม
3.ได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัตฺจริงกับอุปกรณ์
4.ได้พัฒนาทักษะการบวนการคิดในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์
5.ได้พัฒนาทักษะในการเชื่อมโยงความคิด และการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
6.ได้พัฒนาทักษะในการคิดคำนวน
7.รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และแสดงความคิดออกมาอย่างมีระบบ ชัดเจน และรัดกุม

อ้างอิงจาก

- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- การสอนคณิตศาสตร์

3.การสอนการจัดการจัดประสบการณ์ ทฤษฏีการสอน

     ทฤษฏีการสอนที่นำทาใช้มากที่สุดในการสอนคณิตศาสตร์คือ ทฤษฏีการใช่ประสาทสัมผัส (Sensorly motor) ของเพียเจท์ จะเน้นเรื่องการพัฒนาทางสติปัญญา สร้างขึ้นจากงานวิจัยของเขาที่ได้สังเกตจากบุตรและธิดา จากการสังเกตวิธีแก้ไขปัญหาของเด็ก เขาคิดว่าวิธีการใช้เหตุผลของเด็กน่าสนใจมาก เนื่องจากมีความแตกต่างจากการใช่เหตุผลของผู้ใหญ่


อ้างอิงจาก

- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- การสอนกลุ่มทักษะ 2

4.ขอบข่ายคณิตศาสตร์

ขอบข่ายของคณิตศาตร์มีดังนี้
1.การจัดหมวดหมู่
2.การเรียงลำดับ
3.นิติสัมพันธ์
4.ความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา
5.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
6.การนับจำนวน
7.การเปรียบเทียบ
8.รูปทรงและเนื้อที่
9.การวัด
10.แผนภูมิ


อ้างอิงจาก

- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- ยุพิน พิพิธกุล

5.หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

หลักการจัดประสบการคณิตศาสตร์มีดังนี้
1.ครูผู้สอนจะต้องวางแผนในการจัดกิจกรรม และมีจุดประสงค์ในการจัดกิจกรรมอย่างชัดเจน
2.ครูผู้สอนจะต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ ต้องจัดการสอนให้เหมาะสมกับวัยและระดับความสามารถของเด็ก
3.เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ที่เป็นทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยวโดยให้เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
4.จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับทางกายภาพและสังคมเพื่อให้เด็กเข้าใจอย่างแท้จริงและมีความสุข
5.ครูผู้สอนจะต้องเสริมแรงให้แก่เด็ก ถ้าหากพบข้อบกพร่องของเด็กควรช่วยแก้ไข
6.เด็กควรได้ทราบเป้าหมายของกิจกรรมด้วยทุกครั้งก่อนเรียน

อ้างอิงจาก

- การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนว ออร์ฟ-ชูคเวิร์ค.วรินธร สิริเตชะ.2550
- การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ.ราตรี รุ่งทวีชัย.2543
- ยุพิน พิพิธกุล

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่2 09/11/55

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนลิงค์ Blogger ให้อาจารย์

กิจกรรมที่ได้เรียนในวันนี้คือ

อาจารย์ได้ทบทวนสิ่งที่่ได้เรียนในอาทิตย์ที่แล้ว
อาจารย์บอกว่า คณิตศาสตร์ คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราโดยให้ เพื่อนๆในชั้นเรียนช่วยกันบอกเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบว่าสิ่งใดบ้างที่เป็นคณิตศาสตร์
ลำโพงมีลักษณะสี่เหลี่ยม เป็นรูปทรงเลขาคณิต

กระดานไวท์บร์อดมีลักษณะสี่เหลี่ยม เป็นรูปทรงเลขาคณิต
พัดลมมีลักษณะรูปวงกลม เป็นรูปทรงเลขาคณิต  และมีใบพัดสามใบ เป็นจำนวนนับ
นักศึกษาในห้องมีหลายคน เป็นจำนวนนับ

ท้ายชั่วโมงอาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ3แผ่นและสั่งงานดังนี้

1.ให้สำรวจหนังสือคณิตศาสตร์ทั่วๆไป โดยเขียนชื่่อหนังสือ ผู้แต่ง พ.ศ.ที่พิมพ์ เลขหมู่ มา1เล่ม
2.ให้หาความหมายของคณิตศาสตร์ว่าคืออะไร ให้เขียนชื่อผู้ให้ความหมาย ชื่อหนังสือ เลขหน้า มา1คน
3.ให้หาจุดหมาย เป้าหมาย หรือจุดประสงค์ ของการสอนคณิตศาสตร์ ว่าคืออะไร 
4.ให้หาการสอนหรือการจัดประสบการคณิตสาสตร์ - ทฤษฎี
5.ให้หาขอบข่ายของคณิตศาสตร์ว่ามีอะไรบ้าง พูดถึงเรื่องอะไรบ้าง
6.ให้หาหลักการสอน หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เรียนครั้งที่1 02/11/55

      วันนี้เป็นวันที่เรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นวันแรก อาจารย์ได้ถามความคิดเห็นและวางข้อตกลงกับนีกศึกษาเรื่องการเข้าเรียนของแต่ล่ะครั้งว่าต้องปฏิบัติดังนี้

- อาจารย์จะปล่อยก่อนเลิกเรียน 40 นาที เพื่อให้นักศึกษาใช้เวลาที่เหลือนำข้อมูลที่ได้เรียนในวันนี้ไปบันทึกใน Blog ให้เรียบร้อย

-อาจารย์จะทำการตรวจ Blog เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00 น. ทุกวันเสาร์ของสัปดาห์

     ในคาบแรกอาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับเนื้อหาที่เคยเรียนในวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ว่ามีความคล้ายกันกับวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ เป็นกระบวนการทำงานของสมองซีกซ้ายทางด้านการใช้ความคิดสติปัญญาเหมือนกัน



ทฤษฎีของเพียเจต์
พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยแบ่งขั้นพั้นพัฒนาการไว้เป็น2ขั้นได้แก่


โดยวิธีการเรียนรู้มีดังนี้