Mind Mapping ที่ไปด้แก้ไขแล้ว |
แฟ้มสะสมงานวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556
เรียนครั้งที่13 25/01/56
วันนี้อาจารย์ให้ส่งงาน mind mapping และแผนการสอนที่ได้ให้ไปแก้ไขมาและสอนในเรื่อง สาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556
เรียนครั้งที่12 18/01/56
วันนี้อาจารย์ให้นำ mind mapping และแผนการสอน ที่ได้สั่งในอาทิตย์ที่แล้วมาส่ง
อาจารย์ยกตัวย่าง mind mapping กลุ่มของดิฉันเรื่องไข่มาให้เพื่อนๆดู
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการทำ mind mapping ที่ถูกต้องและเนือ้หาบทใดที่ควรใส่ลงไปใน mind mapping ของเรา มีดังนี้
1.เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก
2.มีประโยชน์กับเด็ก
3.เรื่องที่เด็กรู้จัก
4.เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก
5.เป็นเรื่องที่เด็กเข้าใจได้ง่าย
6.เหมาะสมกับวัยแต่ละวัย
7.มีความสำคัญกับเด้ก
*เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กและไม่ไกลตัวเด็กคือสิ่งที่สามารถพบเห็นได้ในกิจวัตรประจำวัน เช่น โรงเรียนของเรา
*งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้อาจารย์ได้ให้ mind mapping ที่ส่งกลับไปแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์
วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556
เรียนครั้งที่11 11/01/56
วันนี้อาจารย์ให้นำสื่อที่ได้ทำในอาทิตย์ที่แล้วมาส่ง มีทั้งหมด 3 กลุ่มดังนี้
1.ลูกคิด สอนในเรื่องการนับ จำนวน เป็นการสอนในรูปแบบของรูปธรรม เด็กสามารจับต้องได้ สามารถลงมือกระทำได้ เพราะรูปธรรมเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ซึ่งในสื่อชิ้นนี้เหมาะที่จะสอนกับเด็กเล็กๆเนื่องจากเด็กยังไม่เข้าใจในนามธรรม
- สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กได้คือ ร้อยวันมาเรียนในแต่ล่ะวันของเด็กๆ
2.การนำเสนอข้อมูลแบบกราฟ ซึ่งตรงกับมาตรฐานที่6 คือกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตรงกับอาจารย์เยาวภาและอาจารย์นิตยาได้ให้นิยามไว้
- สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กได้คือ ร้อยวันมาเรียนในแต่ล่ะวันของเด็กๆ
ดิฉันได้ออกไปอธิบายขั้นตอนการทำ และการใช้งาน |
- สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กได้คือ การหาค่ามากสุดและน้อยสุด เพื่อเปรียบเทียบกัน
ครูบอกว่าให้เก็บรายละเอียดชิ้นงานให้สมบูรณ |
3.ปฏิทินวันและเดือน สอนในเรื่องการนับจำนวน การเรียงลำดับ การนับเลขเชิงนามธรรม สัญลักษณ์ และปรมาตร
- สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กได้คือ ใส่จำนวนเด็กที่มาโรงเรียน
*งานที่ได้รับมอบหมายคือ อาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คนทำ mind mapping หน่วยสาระการเรียนรู้ โดยอาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องแตงโมให้ดูคร่าวๆ ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำหน่วยไข่ และงานเดี่ยวคือให้เขียนแผนประสบการณ์และเทียบกับมาตรฐานคณิศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยแยกออกมา 3 หัวข้อดังนี้
- เนื้อหา
- ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้อะไร
- วิธ๊การสอน
- เนื้อหา
- ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้อะไร
- วิธ๊การสอน
วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556
*ค้นคว้าเพิ่มเติม สื่อเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สื่อประกอบการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะ
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นที่
จะนำไปสู่การเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กควรจะได้รับประสบการณ์เกี่ยว
กับ การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การนับ
การบอกตำแหน่ง และการวัด เพื่อเป็นพื้นฐาน ก่อนที่จะเรียน
คณิตศาสตร์ในชั้นประถม
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นที่
จะนำไปสู่การเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กควรจะได้รับประสบการณ์เกี่ยว
กับ การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การนับ
การบอกตำแหน่ง และการวัด เพื่อเป็นพื้นฐาน ก่อนที่จะเรียน
คณิตศาสตร์ในชั้นประถม
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
- การจำแนกประเภท
- การจัดหมวดหมู่
- การเรียงลำดับ
- การเปรียบเทียบ
- รูปร่างรูปทรง
- พื้นที่
- การชั่งตวงวัด
- การนับ
- การรู้จักตัวเลข
- รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
- เวลา
- การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
สื่อและของเล่น จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง สภาพแวดล้อมหนึ่ง ที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สื่อและของเล่นแต่ละประเภท มีส่วนในการพัฒนาเด็กแตกต่างกันไป การเลือกใช้และผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งครู จะมีบทบาทในการพิจารณาให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก และตรงตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการนำสื่อและของเล่นมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น การผลิตสื่อและของเล่น สำหรับเด็กปฐมวัย จึงควรคำนึงถึงหลักการผลิต การเลือกใช้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของฟรอเบล
ฟรอเบล เน้นสร้างสื่อการสอนที่เป็นเครื่องเล่น เพราะจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ของฟรอเบล คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ดังนั้น เขาจึงผลิตชุดอุปกรณ์ขึ้นมา 2 ชุด เรียกว่า 1.ชุดของขวัญ หรือ Gift Set 2.ชุดอุปกรณ์การงานอาชีพ สื่อการสอนของเฟอรเบลจะใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางสติปัญญา และกระตุ้นให้เด็กใช้พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของมอนเตสซอรี่
เน้นส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความสามารถ และความสนใจของตนเอง โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด ซึ่งอุปกรณ์การเรียนรู้ของมอนเตสซอรี่นี้จะกอบด้วยชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ 3 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เช่น ร้อยลูกปัด แต่งตัว เช็ดกระจก เป็นต้น 2. กลุ่มประสาทสัมผัส เช่น แยกความแตกต่าง ของสี กลิ่น เสียงได้ 3.กลุ่มวิชาการ เช่นเข้าใจ ตัวเลข สัญลักษณ์
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิด ไฮสโคป
เน้นให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กเล่นกับวัสดุโดยตรง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย สื่อการสอนนั้นควรเน้นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น การจำแนกวัสดุ - สิ่งของ จำนวน เวลา เป็นต้น
สื่อการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษา
เน้นการใช้ของจริง และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ เช่น บล็อกต่างๆ สื่อการฝึกนับ รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ปฏิทิน นาฬิกา เป็นต้น
ความสำคัญของสื่อกรสอน
1.สื่อการสอนช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
การเลือกสื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนประเภทวัสดุกับเด็กปฐมวัย สื่อประเภทวัสดุมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะเป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้ของเด็ก และเป็นสื่อซึ่งก่อให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่เด็กวิชาต่าง ๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สุขศึกษา ธรรมชาติศึกษา สังคมศึกษา ศิลปะ เพลง ดนตรี จังหวะเคลื่อนไหว และเกมการเล่น วัสดุที่ใช้เป็นสื่อการสอน ได้แก่ วัสดุท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้ วัสดุทำขึ้นเอง และวัสดุซื้อมาด้วย ราคาสูง วัสดุท้องถิ่น วัสดุท้องถิ่น หมายถึง สิ่งของที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามภูมิประเทศ ซึ่งจะแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละภูมิประเทศ วัสดุท้องถิ่นที่เราพบเห็นในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่ เปลือกหอย ก้อนหิน ปะการัง ทราย ก้อนแร่ ใบไม้ เม็ดมะกล่ำตาหนู ฟาง รังนก ต้นอ้อ เปลือกมะพร้าว ผลตาลแห้ง ก้านกล้วย ใบตอง ทางมะพร้าว เป็นต้น
หลักการใช้สื่อการสอน
ความสำคัญของสื่อกรสอน
1.สื่อการสอนช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน
การจะเลือกใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ในเบื้องต้นผู้เลี้ยงดูเด็กจะ ต้องตระหนักและเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยเป็นที่เพิ่งเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เป็น พื้นฐานของการปรับตัวเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นการจะสอนให้เด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ต้องเข้าใจพื้นฐานพัฒนาการของเด็กว่า เด็กยังแยกแยะสิ่งที่พบเห็นไม่ออก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกใช้สื่อเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งต่าง ๆ หรือการสอนความรู้ความเข้าใจเรื่องจำนวน การให้เด็กดูสัญลักษณ์ตัวเลข ควรเป็นเพียงการสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น แต่การสอนให้รู้จักจำนวน ควรใช้สื่อที่เด็กสนใจ 3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน
การเลือกสื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนประเภทวัสดุกับเด็กปฐมวัย สื่อประเภทวัสดุมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะเป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้ของเด็ก และเป็นสื่อซึ่งก่อให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่เด็กวิชาต่าง ๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สุขศึกษา ธรรมชาติศึกษา สังคมศึกษา ศิลปะ เพลง ดนตรี จังหวะเคลื่อนไหว และเกมการเล่น วัสดุที่ใช้เป็นสื่อการสอน ได้แก่ วัสดุท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้ วัสดุทำขึ้นเอง และวัสดุซื้อมาด้วย ราคาสูง วัสดุท้องถิ่น วัสดุท้องถิ่น หมายถึง สิ่งของที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามภูมิประเทศ ซึ่งจะแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละภูมิประเทศ วัสดุท้องถิ่นที่เราพบเห็นในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่ เปลือกหอย ก้อนหิน ปะการัง ทราย ก้อนแร่ ใบไม้ เม็ดมะกล่ำตาหนู ฟาง รังนก ต้นอ้อ เปลือกมะพร้าว ผลตาลแห้ง ก้านกล้วย ใบตอง ทางมะพร้าว เป็นต้น
หลักการใช้สื่อการสอน
ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้
1.เตรียมตัวผู้สอน เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับที่ต้องการใช้หรือไม่
2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม โดยการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ ตลอดจนเตรียมสถานที่ห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
3. เตรียมพร้อมผู้เรียน โดยมีความแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อว่าเป็นอย่างไร
4. การใช้สื่อ ต้องใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แแล้วเพื่อให้ดำเนินการสอนไปได้อย่างราบรื่น
5. การติดตามผล เพื่อทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนร้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ ผู้สอนจะได้หาข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขในการสอนต่อไป
การประเมินสื่อการสอน
การประเมินการใช้สื่อการสอนมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ
2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ
3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ
1.เตรียมตัวผู้สอน เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับที่ต้องการใช้หรือไม่
2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม โดยการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ ตลอดจนเตรียมสถานที่ห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
3. เตรียมพร้อมผู้เรียน โดยมีความแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อว่าเป็นอย่างไร
4. การใช้สื่อ ต้องใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แแล้วเพื่อให้ดำเนินการสอนไปได้อย่างราบรื่น
5. การติดตามผล เพื่อทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนร้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ ผู้สอนจะได้หาข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขในการสอนต่อไป
การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ ดำเนินการดังนี้
1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ 2. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย 3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง 4. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่ 5. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ แนวทางการพัฒนาสื่อ ควรมีลักษณะเฉพาะดังนี้ 1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้ได้สะดวก ไม่ซับซ้อนเกินไป เหมาะสมกับวัยของเด็ก 2. รักษาความสะอาดของสื่อถ้าเป็นวัสดุที่ล้างน้ำได้เมื่อใช้แล้วควรได้ล้างเช็ด หรืปัดฝุ่นให้สะอาดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย 3. ถ้าเป็นสื่อที่ผู้เลี้ยงดูเด็กผลิตขึ้นมาใช้เองและผ่านการทดลองใช้มาแล้ว ควรเขียนคู่มือประกอบการใช้สื่อนั้น โดยบอกชื่อสื่อ ประโยชน์และวิธีใช้ รวมทั้งจำนวนชิ้นส่วนของสื่อในชุดนั้น และเก็บคู่มือไว้ในซองหรือถุงพร้อมสื่อที่ผลิต 4. พัฒนาสื่อที่สร้างสรรค์ ใช้ได้อเนกประสงค์ คือเป็นได้ทั้งสื่อเสริมพัฒนาการ และเป็นของเล่นสนุกสนานเพลิดเพลิน |
การประเมินการใช้สื่อการสอนมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ
2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ
3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ
สรุป อย่างไรก็ดีสื่อการสอนแม้จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย แต่การจะใช้สื่อการสอนสำหรับเด็ก ปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระ การสอนที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจของเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด
สื่อ การเรียงลำดับรูปภาพ |
สื่อ มิติสัมพันธ์แบบซ้อนภาพ |
วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556
เรียนครั้งที่10 04/01/56
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำงานประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์ที่ได้แบ่งกลุ่มออกเป็น3กลุ่มในคาบที่แล้ว ดังนี้
- กลุ่มที่1 ประดิษฐ์ลูกคิดจากสิ่งของเหลือใช้ (กลุ่มของดิฉันได้ทำสื่อชิ้นนี้ค่ะ)
อุปกรณ์การทำลูกคิดมีดังนี้ค่ะ
- กลุ่มที่2 ประดิษฐ์การนำเสนอข้อมูลแบบกราฟหรือแผนภูมิ
- กลุ่มที่3 ประดิษฐ์ปฏิทินวันและเดือนเพื่อสอนเรื่องการนับจำนวน การเรียงลำดับ การนับเลขเชิงนามธรรม
กำลังเย็บตะขอเพื่อเป็นที่เกี่ยวเชือกลูกคิด |
เรานั่งทำกันที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ |
อาจารย์กำลังให้คำแนะนำเพิ่มเติ่มในการทำ |
1.ฝาขวดน้ำพลาสติก
2.ฟิวเจอร์บอร์ด 1 แผ่น
3.เชือก
4.ค้อน/ตะปู
5.เข็ม/ได้
6.เทปใส
7.ตะขอ
8.กาวร้อน
9.กระดาษแข็ง
วิธีทำ
1.ใช้ตะปูเจาะรูตรงกลางฝาขวดน้ำ โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร
2.ตัดและกรีดฟิวเจอร์บอร์ดโดยกรีดไม่ให้ทะลุอีกฝั่งตามภาพดังนี้
3.พับฟิวเจอร์บอร์ดเข้าหากันตามรอยกรีด
4.ใช้เทปใสติดฟิวเจอร์บอร์ดให้แน่น
5.แบ่งระยะของกล่องให้ได้ 4 ช่องเพื่อเย็บตะขอไว้เกี่ยวกับเชือกโดยกะระยะห่างให้เท่ากัน
6.ตัดเชือกให้มีความยาวน้อยกว่าฐานเล็กน้อย และมัดปมให้ใใหญ่กว่ารูของฝาขวดน้ำที่เจาะ จากนั้นทำห่วงอีกฝั่งหนึ่งเพื่อใช้เกี่ยวกับตะขอ
7.ทำที่เสียบบัตรตัวเลขข้างหน้าของฐานกล่อง
8.ตัดกระดาษและเขียนตัวเลขลงไป เพื่อใช้กำกับจำนวนฝาขวดน้ำ
เมื่อทำเสร็จจะได้ลูกคิดออกมาดังภาพที่เห็นดังนี้
ลูกคิดที่ได้ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)